โจทย์ข้อนี้
เป็นข้อสอบที่ออก โดยใช้เนื้อหา 2 เรื่อง คือ สถิติ(ค่าเฉลี่ย) และ Number property
เป็นข้อสอบระดับกลาง 600-700 (มีค่าความยากที่ gmatclub คือ 45)
และ เวลาเฉลี่ยที่ใช้คิด คือ 2 นาที 30 วินาที
ลองคิดกันดูนะครับ และ จับเวลา ว่าเราทำได้ และเสร็จในเวลาเฉลี่ย
ถ้าไม่ได้เลยต้องทบทวนพื้นฐาน ถ้าได้แต่ไม่ทันเวลา เราต้องฝึกเทคนิกเพิ่ม
ทำโจทย์เยอะๆ ครับ เราจะเก่งขึ้นได้เอง

สิ่งที่เรียนรู้จากข้อนี้ ก็คือ
หลักของข้อสอบ GMAT นั้นจะเน้น ในเรื่องเดิมๆประมาณนี้ ในข้อสอบส่วนใหญ่
(1) ว่าต้องคิดเร็ว – ดังนั้น ตัวเลขจะไม่ยาก จะไม่มาก มักมาพอดีๆ ไม่สาหัส ไม่ทศนิยม/เศษส่วน ถ้าไม่ได้ต้องการโฟกัสเรื่องนั้น
(2) คิดในใจได้ หรือ ทดเลขน้อย เพราะไม่ได้ให้ใช้ เครื่องคิดเลข
(3) คิดได้หลายวิธี อันนี้พี่จะบอกน้องไว้เสมอ ว่า คนออกมักให้ option เฉพาะเพิ่มเติม ในข้อกลางๆ หรือ ง่ายๆว่า เรามักสามารถคิดออกได้ไว ด้วยการใช้ non math ซึ่งข้อยากๆ เท่านั้น ที่มักจำเป็นต้อง pure math
พี่จะบอกน้องนักเรียนพี่เสมอว่า “non-math” คิดง่าย คิดไว ไม่ปวดหัว จะใช้เดี่ยวหรือ ลูกผสม ก็ช่วยเราเร็วได้
(4) หลายเรื่อง คนออกข้อสอบมักวางหลุมพรางง่ายๆ ไว้ หลุมพรางเหล่านี้ นั่นเองที่ upgrade ข้อง่ายให้เป็น
ข้อยากได้ เพราะ พอคนทำมันผิด ค่าความยากของมันก็ปรับสูงขึ้น กลายเป็นข้อสอบระดับยาก ดังนั้น ถ้าน้องไม่ได้เก่ง MATH มากๆ (หรือเก่งก็ตาม) ทางหนึ่งเลยที่จะได้คะแนนดี คือ ไม่พลาดตอบในข้อที่วางตัวเลือกที่เป็นหลุมพราง
เฉลย :

นอกจากนี้ พี่ลองได้ทดสอบยกตัวอย่างที่เกิดจากการแปลผิด ส่งผลให้ตอบข้ออื่นๆได้ด้วย ลองทดสอบดูได้ครับ
จากการแปลผิดไปจาก ตัวเล็กสุด Set S ใหญ่กว่า ตัวเลขสุดอยู่ 7 ถ้าแปลสลับผลก็ออกอีกแบบ และมีในคำตอบด้วยเช่นกัน
ปัญหาอีกประการคือ การกระทำกับเลขลบ หรือ แม้กระทั่งการลบกัน ของเลขลบ ที่คิดเร็วๆแล้วผิดรัวๆครับ มีบ่อย
การได้คะแนน Quant ดีได้นั้น ต้องครบเครื่อง
พี่เอ๋ Quant Alchemist
เก่งแรกคือทำได้ เก่งต่อมาคือ ทำยังไงที่จะทำได้เร็ว ต่อมาอีกคือเก่งที่จะหาวิธีที่ทำได้ง่ายขึ้น เบาแรงขึ้น
เก่งที่สุดตอนจบต้องรอบคอบไม่ตายตอนจบ แค่นี้ก็รอดละ !!
สู้ๆครับ น้องๆ ทุกคน