GMAT Quant sample #29

SUN 25 / 09 / 65

สวัสดีครับน้องๆ ที่กำลังเตรียม GMAT

ทุกอาทิตย์ ถ้าพี่เอ๋สะดวก จะมาเขียน Blog ที่แนะนำเทคนิกทั้งลับและ ไม่ลับ ในการทำโจทย์ Quant รวมถึงการเสนอมุมมอง ทั้งด้านเทคนิก และ กลยุทธ์ โดยสลับการเสนอทั้งในแบบ เฉลยโจทย์ หรือ การให้แนวคิดและ mindset เพื่อให้น้องๆ สามารถเข้าถึงการสอบ Quant อย่างได้ผลมากที่สุด

ว่าด้วยความง่าย-ยาก ของข้อสอบ Part Quant

บทพิสูจน์หนึ่งว่า ข้อยาก อาจไม่ได้มีอยู่จริง
เพราะ บางทีข้อที่ยาก เราตั้งใจทำและอาจไม่ผิด
ข้อที่ทำผิด อาจจะไม่ได้ยาก แต่เมื่อผิดคะแนนคือหยุด !!

จากที่พี่ได้ คุย และ ปรึกษากับน้องๆ หลายๆคน หลายคนจะส่งข้อยากๆ มาปรึกษาซึ่ง อาจสื่อให้เห็นว่า น้องหลายๆคนอาจทำข้อง่ายๆได้ผ่านแล้ว และ ขยับไปสู่ข้อยากๆ มากขึ้น แต่ในความจริง ด้วยความที่เรานึกไปว่าข้อง่ายหรือปานกลางเราได้แล้ว เราจึงลดความสำคัญลง
หันไปทำข้อยากมากๆ ในระดับ hard level หรือ เรื่องที่ยากมากๆ เช่นพวก Prob / Sequence /Step
ซึ่งเป็นการลงทุนที่ ให้ผลตอบแทนติดลบ เพราะอะไร ??
เพราะ น้ำหนักการเพิ่ม/ลด ของคะแนนในข้อง่าย มีมากกว่า ข้อยากๆ
ข้อง่ายถ้าถูก คะแนนจะกระโดดเพิ่มช่วงมาก ถ้าผิดจะให้น้ำหนักที่กดมาก
ในขณะที่ถ้าเราเดินทางไปถึงข้อยากแล้ว ผิด ตรงนั้นน้ำหนักในการลดลงของคะแนนรวมมีน่้อยมาก
(เพราะใครๆก็ผิด)

เรามาดูสิ่งที่เรียก ข้อง่าย-ข้อยากใน GMAT กันครับ
(1) ข้อยากใน GMAT มีลักษณะเป็นแบบ relative คือ เทียบกับจำนวนคนเข้าสอบ
และ (2) การเจอข้อสอบจะเป็นแบบ adaptive นั่นคือ ยิ่งถูก >คะแนนสูงขึ้น > เจอข้อสอบที่ระดับความยากมากขึ้น เมื่อผิดเหตุการณ์ก็จะตรงกันข้าม

เมื่อพูดถึงข้อสอบข้อหนึ่งๆในระบบการสอบ GMAT

** ถ้าทุกคนทำข้อนี้ได้ถูก – ไม่ว่าจริงๆ ข้อนั้นจะยากในทาง math หรือ ไม่ว่าข้อนั้นต้องใช้เวลานานจะทำได้ ข้อนั้นจะคือข้อง่าย ระดับความยากจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีผู้คนทำถูกในจำนวนคนที่มากขึ้น โดยไม่สนใจเวลาเฉลี่ยของทุกคนที่ทำข้อสอบ สนใจแค่ ถ้าคนถูกเยอะๆ ข้อสอบนั้นก็จะม่ค่าความยากที่ลดลง

** ถ้าคนส่วนใหญ่ทำข้อนี้ผิด ระดับความยากของข้อนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง ไม่ว่าข้อนั้นมันจะยากจริงๆ หรือ ไม่ยาก แต่มีลูกเล่นบางอย่างที่ ผู้สอบจะทำผิดได้อย่างง่ายๆ หรือ แบบผิดโดยไม่ลังเล

เนื่องจาก การฝึกฝนของน้องๆ ส่วนใหญ่ก็จะอยู่กับ OG BOOK ซึ่งก็ทำกันมาเรื่อยๆมานานแล้ว แต่ถ้าน้องรู้จักและคุยกับพี่ พี่จะแนะนำให้ฝึกจาก Forum ของ Gmatclub.com มากกว่า เพราะ ข้อสอบทุกข้อจาก OG ทุกๆเวอร์ชั่น มันกองรวมอยู่ตรงนี้ ซึ่งมี Feature ที่บอกค่าความยาก/เวลาเฉลี่ย รวมถึงวิธีทำในหลายหลายรูปแบบ ที่มาเแลยโดย GMAT tutor จากทั่วโลก มันย่อมมีวิธีที่ Smart มากกว่า วิธีตรงๆ วิธีเดียว เฉลยแบบเดียวใน OG มาตรฐาน

นอกจากนี้ Feature ที่สำคัญของ platform gmatclub คือ ERROR LOG เป็นเหมือน memo และ แผนที่ที่ช่วยบันทึกการเดินทางของเรา สามารถกลับมาเช็ค ย้อนหลัง เพื่อปรับปรุงการทำข้อสอบได้ดีขึ้น แก้ไขข้อผิดพลาดในรอบก่อน

ดังนั้น บทความวันนี้จึงอยากมาเน้นว่า อยากให้น้องอย่ามุ่งทำข้อยากที่เป็นความยากทาง MATH มากนัก เพราะของจริงต้องเข้าใจว่า ถ้าเรามาถึงข้อยากที่คะแนนสูงสุดแล้วผิด คะแนนแทบไม่ได้ลดลงเลย เพราะใครๆ ก็ผิด พวกนี้ที่ GMATCLUB จะ level แบบ 85% 95% hard

แต่อยากให้มองหา และให้ความสำคัญกับข้อยาก แบบที่เป็นกับดัก แบบทริก ที่เราอาจทำผิดง่ายๆ โดยไม่ทันระวัง ทำได้แต่ไม่รอบคอบ จนผิดไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งมักอยู่ในระดับ
35%-65% ซึ่งข้อสอบพวกนี้แหละจะหลอกตาเราในการสอบจริง นึกว่าทำถูกได้ง่าย ทำได้เร็ว เอาเข้าจริงคือ ทำผิด คะแนนไม่ขึ้น พอไม่ขึ้นก็ไม่ได้ไปเจอที่ level 85-95% ที่เตรียมมาเลยไม่ได้โอกาสใช้ คะแนนไม่พุ่ง และหยุดแถวๆนั้น ปัญหาที่พี่เอ๋พบในคนที่สอบได้ในช่วง Q42-45 มักเป็นแบบนี้วนเวียน ซึ่งบางคนเก่งนะครับ ไม่ได้ไม่เก่ง แต่ข้ามตรงนี้ไปไม่ได้่

กฏของเกมส์นี้คือ ถ้าไม่ถูกข้อง่าย ก็จะไม่เจอข้อยาก คะแนนรวมก็ไม่พัฒนาขึ้นไปสักที

แต่ถ้าเตรียมมานานแล้ว ทำมามากแล้ว ยังไงการได้คะแนน ระดับ Q50 ก็จะต้องจบด้วยข้อยากอยู่ดี ตรงนี้พี่เอ๋ จะมีสูตรสำเร็จที่บอกน้องๆที่เรียนกับพี่เสมอครับ
ข้อง่าย – ต้องทำให้ถูก 100% เร็ว – ควรทำได้ ในเวลา 1-1.5 นาที
ข้อกลางๆ – ควรทำถูกต้องระดับ 80% ขึ้นไป – ควรทำได้ไม่เกิน 2-3 นาที
ข้อยากๆ – ทำถูกแค่ 50% ก็พอแล้ว ไม่ต้องทุ่มเวลากับมันมาก และถ้าอันไหนยากเกินไป หรือ ถ้าทำแล้วต้องทุ่มเทระดับ 3-5 นาที ควรทิ้งมันไปด้วยซ้ำในการสอบจริง ทีนี้ ทิ้งตอนไหนยังไง ขออุบไว้สอนกันในคอร์สนะครับ เพราะรายละเอียดมากไปในการเขียนลงตรงนี้

ปิดท้ายบทความนี้ ด้วย โจทย์ ที่ระบุว่าความยากคือ ระดับปานกลาง แถมด้วยลักษณะข้อสอบดูเหมือนยาก
เพราะเป็นเรื่อง Sequence (ซึ่งสอบจริงอาจมีคน skip เพราะคิดว่ายาก เลยยิ่งทำให้มันยากขึ้นไปเรื่อยๆ ในระบบ)
ซึ่้งถ้าติดตามพี่เอ๋มาแต่แรก พี่เอ๋ จะเน้นเสมอว่า GMAT ไม่ได้ทดสอบ Pure MATH ดังนั้น คนที่ทำมาเยอะ มีไหวพริบดี เป้นคนช่างสังเกตุ อาจทำข้อสอบหลายๆ ข้อได้ในระดับ 10-30 วินาที ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าคนออกข้อสอบ ไม่ได้เปิดทางไว้ให้เรา แค่วางตัวเลือกโหดๆ ไว้ให้เราก็แย่แล้วครับ แต่นี่เค้าช่วยๆๆเรามากๆ แค่มองให้เห็นเท่านั้นครับ


เฉลย

การได้คะแนน Quant ดีได้นั้น
เริ่มต้นจาก ฝึก ฝึก และฝึก โจทย์ที่หลากหลายรูปแบบเมื่อตอนซ้อม

ต่อมาคือการวางแผนแบ่งเวลา วางกลยุทธ์สำหรับตัดสินใจ
และ จบด้วยการทำได้ตามแผน และ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อสอบจริง

สู้ๆครับ น้องๆ ทุกคน

พี่เอ๋ Quant Alchemist
Posted in QMAT weekly Question.

ใส่ความเห็น