GMAT Quant sample #26

FRI 29/7/65

สวัสดีครับ

วันนี้พี่เอ๋ ลองเอาข้อสอบระดับปานกลาง เกี่ยวกับ math 2 เรื่อง คือ Algebra กับ Number Property

เนื้อเรื่องและความรู้ที่ใช้ทำ ไม่ได้ยาก แต่บางที ข้อสอบแบบนี้หละทำให้ เราเสียคะแนนง่ายๆ

1. คนใช้ math บางทีในความรีบ ตกใจว่า จะใช้วิธีอะไร ห่วงว่าสร้างสมการได้ไหม แทนที่ปกติจะคิดได้เร็ว ผลปรากฏตรงข้ามคือคิดช้า ยิ่งคิดแล้วไปจบที่ซอยตัน อาจถอยไม่ทัน ต้องเริ่มต้นใหม่หมด เวลาก็ยิ่งเสียไปมาก

2. ถ้าทำได้ ด้วยความที่ ในคนที่เก่งอาจรู้สึกใช้เวลาไปเยอะ ทำให้เวลาทำได้ สมองจะแล่นปรี๊ด เวลาตอบจะ
รีบตอบ ซึ่งการรีบตอบนี่แหละ ตัวทำคนที่เก่งพัง เพราะ พอเราเก่งมั่นใจ ว่าเราทำได้ พอได้ และ เห็นว่าในตัวเลือกมี ก็จะตอบเลยแทบจะทันที ทำให้ผิด !!

สองข้อนี้ ทำให้ผู้สอบหลายๆคน พลาดมาเยอะแล้ว และเสียคะแนนไปอย่างไม่น่าเชื่อ

🙂 + ถ้าเป็นในคลาส พี่เอ๋ จะสอนเสมอว่า ถ้ามองในมุมการใช้พลัง/เวลา ในการคิด
การใช้ non math ใช้พลังน้อยสุด ถ้าเราฝึกฝนให้ทำได้เร็ว จากการทำบ่อยอันนี้แหละ แทบจะไม่ผิดเลย อันนี้ทำให้คนไม่เก่งเลขมากนัก รอด !! และฝ่าไปได้คะแนนสูงๆ แม้ไม่ได้เก่ง math อะไรมากมาย


🙂 + ในมุมที่สองสำหรับ คนที่เก่งเลขอยู่แล้ว การถอยมา ทำ non math เลยอาจไม่ถูกใจเท่าไร กลุ่มนี้พี่เอ๋ จะสอนว่า พยายามทำข้อสอบให้เร็วขึ้น โดยมองแบบ Hybrid คือ mix กันระหว่าง math กับ non-math ในสัดส่วนที่เหมาะสมการตอบก็จะเร็วขึ้นประมาณนี้ครับ ตรงหน้าเพจนี้ สอนยังไง ในคลาสก็แบบนี้ จะมี มากกว่าก็แค่สอนการพลิกแพลงที่ล้ำขึ้น และ มองมุมแปลกๆของโจทย์ให้ออก โชคดีครับ ..


ค่าความยากข้อนี้ ที่ web gmatclub คือ ระดับ 35 (mediam) / ที่เวลาเฉลี่ยเกือบๆ 2 นาที



ลองจับเวลา ทดลองทำข้อสอบ ข้อนี้ ดูกัน แล้ว ตามด้วยดูการเฉลยด้วย TACTIC เฉพาะตัวของพี่เอ๋ครับ



เฉลย :
นีคือการทำข้อสอบ โดยอาศัย tactic แบบ non math ที่ design ในคลาสพี่เอ๋นะครับ
เป็น technic Pick Number ธรรมดาๆ โดยเลือกตัวเลขที่ตรงตามเงื่อนไขที่สำคัญของ GMAT ที่สำคัญที่พี่เอ๋กล่าวถึงบ่อยๆ อันคือ เค้าชอบใช้เลขตัวเล็กๆ

(อย่าลืมว่า GMAT เราต้องคิดในใจ ใช้กระดาษทด เลขต้องเล็กๆแหละ)

ถ้าเราทำโจทย์ Algebra ล้วนๆ บ่อยๆ non math ที่ใช้บ่อยๆ คือ plug
แต่ข้อนี้ถูกผสมด้วย เงื่อนไขทาง ระบบจำนวน ดังนั้น
เราเลยต้องเลือก pick เลขตามเงื่อนไขคือ pick แล้ว คำตอบจะมาปั๊ป !! แบบเสก

การได้คะแนน Quant ดีได้นั้น
เริ่มต้นจาก ฝึก ฝึก และฝึก โจทย์ที่หลากหลายรูปแบบเมื่อตอนซ้อม

ต่อมาคือการวางแผนแบ่งเวลา วางกลยุทธ์สำหรับตัดสินใจ
และ จบด้วยการทำได้ตามแผน และ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อสอบจริง

สู้ๆครับ น้องๆ ทุกคน

พี่เอ๋ Quant Alchemist
Posted in QMAT weekly Question.

ใส่ความเห็น