GMAT Quant sample #13

สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากข้อนี้คือ : ความสามารถทำโจทย์ในบางประเภทมาจากประสบการณ์
กฏ นิยาม บางอย่างเราไม่เคยเจอมาก่อน และอาจต้องสังเวยครั้งแรกไป แต่แน่นอนคนที่
ผ่านการทำโจทย์เยอะ ก็จะได้เปรียบมากกว่า เช่น เมื่อผิดแล้วจำ จำแล้วไม่ผิดอีกครั้งที่ 2

พี่จำ Quote จากหนังเรื่อง SAW ได้ดี ที่พูดว่า
Fool me once, shame on you
Fool me twice, SHAME ON ME

วันนี้เสนอโจทย์ number property เบาเบา ข้อนึง
ถามว่า ง่ายไหม ? สำหรับพี่ คนที่รู้มาก่อน 10 วินาที ตอบได้เลยนะ
เพราะเหมือนถามนิยาม ตรงจุดนั้น เป๊ะๆๆ
.
มาดูชาวโลกก่อนตาม มารยาทที่ GMATCLUB บอกข้อนี้ยากแฮะ
(แปลว่าคนไม่รู้ ทริกนี้เยอะ )..สถิติเวลา ก็ประมาณ เกือบ 1 นาทีครึ่ง
(พี่พอเดาได้ ว่าก็คงไปนั่งแยกตัวประกอบกันอยุ่ เลยเสียเวลา)
.
อ้าวแล้วถ้าแยกตัวประกอบง่ายๆ ทำไมคนยังผิดเยอะ และได้ระดับความยากที่ 55 (hard)
อยู่อีกละ … บอกง่ายๆ น้องเจอ ทริกเลขเรียง

ไงครับ ..พี่เคยเสนอไปหลายตอนแล้วว่า ถ้าเห็นตัวเลือกเรียงกัน
บอกได้เลยมีโอกาสที่คำตอบแรกที่คิดได้จะผิด ลืมนับนั่น หรือ ลืมตัดนี่ ทำให้คำตอบอาจเกินไป 1
หรือ ขาดไป 1 ทำให้เราตอบผิดไป ทั้งๆ

ที่เราคิดถูก
.
คนที่คิดถูก (เสียเวลาทำไปแล้วนะ) แล้วมาจบตอบผิดนี่หละ ทำให้ข้อนี้ยาก .. ดังนั้นจำไว้ว่า GMAT ไม่ได้ยาก..เพราะทำยากนะครับ
แล้วพอคนทำไม่ถูก ไปดูเฉลย OG บอกไว้ก่อนนะครับ OG ชอบคิดตรงๆ แล้วก็ออกทะเล พาวนมั่ง
แล้วไม่ได้เฉลยโดยคนที่ออกข้อสอบนะ ทำตามรับรองสอบจริงทำไม่ทันหรอกครับ

#GMAT #GMATCOURSE #GMATQUANT


Posted in QMAT weekly Question.

ใส่ความเห็น